ปุ๋ยชีวภาพมูลกิ้งกือเสริมพีจีพีอาร์

 “กิ้งกือ” นั่นเอง ซึ่งเป็นสัตว์ที่พบมากในประเทศไทย มากมายหลายชนิด กิ้งกือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ปลอดภัยในการเกษตร จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ามูลกิ้งกือมีส่วนประกอบของธาตุอาหารมากมายที่เป็นประโยชน์กับพืช เนื่องจากกิ้งกือส่วนใหญ่กินซากพืชเป็นอาหาร และการย่อยสลายตามธรรมชาติทำให้มีการปลดปล่อยธาตุอาหารกลับคืนสู่ดิน ส่งผลให้พืชเจริญงอกงามได้เองโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ เนื่องจากกิ้งกือจะทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายเศษซากอินทรีย์ให้กลายเป็นธาตุอาหารหมุนเวียนกลับสู่ดิน […]

เสริมแร่ธาตุซีลีเนียมคะน้างอก

นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สร้างผลงานเด่น ปลูกผักคะน้าต้นอ่อนเสริมธาตุซีลีเนียม ที่ร่างกายของมนุษย์ต้องการในปริมาณน้อย แต่มีความจำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวัน ซึ่งโดยปกติแล้วคนเราต้องรับประทานธาตุซีลีเนียมในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน เนื่องจากคะน้าเป็นพืชที่สามารถดูดซึมแร่ธาตุผ่านราก เมื่อไปอยู่ในลำต้น และใบ ก็จะมีการเปลี่ยนในรูปของแร่ธาตุ […]

กี่ทอผ้ากึ่งอัตโนมัติอนุรักษ์ผ้ายกไทย

นักวิจัยเก่ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คิดค้น ประดิษฐ์กี่ทอผ้ากึ่งอัตโนมัติเพื่ออนุรักษ์ผ้ายกไทย ซึ่งการออกแบบ และสร้างกี่ทอผ้ากึ่งอัตโนมัติสำหรับทอผ้ายกโดยมีการควบคุมด้วยพีแอลซี มีหน่วยความจำที่สามารถช่วยจดจำ บรรจุลายผ้าได้จำนวนมาก เพิ่มอัตราการทอ ลดแรงงานในการทอผ้าโดยมีกลไกการดึงตะกอที่ถูกควบคุมด้วยพีแอลซี […]

ไวน์ข้าวขาวข้าวแดงและข้าวดำเพื่อสุขภาพ

จากข้าวขาว ข้าวแดงและข้าวดำธรรมดาที่ชาวนาปลูกไว้เพื่อบริโภคกันทั่วไปในท้องถิ่นนั้น ใครจะรู้ว่าจากข้าวสายพันธ์พื้นบ้านธรรมดาของบ้านเรา เมื่อถูกนำมาพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้เป็นเครื่องดื่มไวน์ข้าวขาวข้าวแดงและข้าวดำ ที่มีสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ(DPPH) ในเนื้อไวน์มากที่สุดที่ได้จากข้าวสารสายพันธ์ธรรมดาเปลี่ยนมาเป็นเครื่องดื่มเพื่อบำรุงสุขภาพ ที่มีผลลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และเป็นการตอบโจทย์ที่ดีอีกหนึ่งทางเลือกของคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอ โดยการพัฒนาวิจัยของ ผศ.ดร.นริศ สินศิริ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาพื้นที่นาสีนวนและเกษตรอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม […]

นักวิจัยเก่ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พัฒนา วิจัย แปรรูป ผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้าน “ตรีผลา”

นักวิจัยเก่ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พัฒนา วิจัย แปรรูป ผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้าน “ตรีผลา”ที่มีมากในท้องถิ่น ตรีผลายังเป็นตํารับยาแผนโบราณที่มีการใช้ทั้งทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดียและการแพทย์แผนไทยมาเป็นเวลานานนับพันปีจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทยให้ได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น ในการนำตรีผลาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มีสรรพคุณในการปรับสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย […]

พัฒนาแหล่งกำเนิดพลาสมา เพิ่มการงอกเมล็ดฟ้าทะลายโจร

นับเป็นความทันสมัยในการนำเทคโนโลยีพลาสมาความดันบรรยากาศในการปรับปรุงผิวเมล็ดพันธุ์เพื่อเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ก่อนทำการเพาะปลูกซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มอัตราการงอก และอัตราการโตของต้นอ่อนได้เป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรพืชสมุนไพรไทยมากมายที่สามารถนำมาใช้ประกอบร่วมกันรักษาในทางการแพทร่วมกันแพร่หลาย นับเป็นความถ้าทายของนักวิจัยคนเก่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ได้พัฒนาแหล่งกำเนิดพลาสมาความดันบรรยากาศสำหรับเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ฉิ่งสูงเนิน อาจารย์สังกัดภาควิชาฟิสิกส์ […]

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากชาสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ

นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำสมุนไพรหลายชนิดที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ โดยที่ชาสมุนไพรเหล่านี้มีความพิเศษในเรื่องรส สี กลิ่นที่มีความหอม และยังช่วยในการบำรุงสุขภาพ โดยเฉพาะช่วยยับยั้งการดูดซึมของไขมัน ช่วยการชะล้างไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับความดันโลหิตสูง […]

ชุดทดสอบการกดจุดสัญญาณสำหรับหัตถเวชกรรมไทย

อีกหนึ่งทางเลือกของการเรียนนวดแผนไทยนั้น ที่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ให้ความสำคัญ โดยทำการวิจัยชุดทดสอบการกดจุดสัญญาณสำหรับหัตถเวชกรรมไทยที่ทำหน้าที่นวดกดจุดตามตำแหน่งจุดสัญญาณต่างๆ ของร่างกายไปพร้อมกับการแต่งรสมือ หน่วง – เน้น – นิ่ง เพื่อให้ได้ขนาดของแรงกดนวดและระยะเวลาในการนวดตามที่ศึกษาในภาคทฤษฎี […]

นักวิจัย มมส สร้างผลงานผลิตเจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว

นวัตกรรมใหม่ นักวิจัย มมส สร้างผลงานผลิตเจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว ซึ่งผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมที่เกษตรกรใช้ไม่นำเข้าจากต่างประเทศแล้ว เพราะปัจจุบันทีมนักวิจัยเก่ง มมส ได้มีการคิดงานวิจัยที่ตอบสนองต่อวามต้องการของเกษตรกรโดยผลิตภัณฑ์เจลหล่อลื่นในสัตว์ใหญ่เป็นการลดการอักเสบและฆ่าเชื้อจุลชีพของโค-กระบือในประเทศไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]

นักวิจัย มมส เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชวงขิงชนิดใหม่ของโลก

นักวิจัย มมส เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชวงขิงชนิดใหม่ของโลก เป็นงานวิจัยพืชวงขิงที่มีการคัดเลือกพืชชนิดที่หายาก หรือเป็นพืชเฉพาะถิ่น หรือเป็นพืชที่มีแนวโน้มที่ใกล้จะศูนย์พันธุ์ นำกลับมาขยายาพันธุ์ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยใช้ตาเง้า เป็นตัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้มีการเจริญเติมโตด้วยดีแม้นอกฤดูการ โดย […]