โครงการ การพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพรเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ตามนโยบายมหาสารคามเมืองสมุนไพรเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพ

SDGs Herb

เมื่อวันศุกร์ ที่ 9 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ได้ลงพื้นที่เข้าร่วมสังเกตการณ์โครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
“โครงการ การพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพรเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ตามนโยบายมหาสารคามเมืองสมุนไพรเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพ”
โดยมี ผศ.ดร.สมบัติ อัปมระกา นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และสำนักวิทยบริการ ได้จัดกิจกรรมอบรมให้ชุมชนในพื้นที่
กิจกรรม
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม
09.00 – 09.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและแนะนำคณะทำงาน โดยหัวหน้าโครงการ ผศ.ดร. สมบัติ อัปมระกา สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
09.30 – 10.30 น. บรรยายเรื่อง 8 ข้อกำหนด การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับพืช สมุนไพร โดย ผศ.ดร. ชฎาพร เสนาคุณ วิทยากรจากสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
10.40 – 11.10 น. บรรยายเรื่อง การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรหลังเก็บเกี่ยว โดย ผศ.ดร. สมบัติ อัปมระกา วิทยากรจากสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
11.10 – 12.00 น. บรรยายเรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ โดย นายอารยะ เสนาคุณ วิทยากรจากสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
13.00 – 16.00 น. เดินทางไปศึกษาดูงาน การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและการแปรรูปสมุนไพรตามมาตรฐาน GMP ณ โรงงานฟาร์มแคร์ฟาร์มาซูติคอล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคามวิทยากรโดย รศ.ดร. สมศักดิ์ นวลแก้ว (ผู้จัดการโรงงานฯ) คณะเภสัชศาสตร์

SDGs Herb