วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคาม 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ลงพื้นที่ติดตาม “โครงการออกแบบและติดตั้งระบบพลังานแสงอาทิตย์ พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (CLM) ระดับตำบล : กรณีตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม”
👉โดย จังหวัดมหาสารคามได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “ โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล จำนวน 1 แปลง ขนาดพื้นที่ 15 ไร่ โดย นายกระรัญ ดาวโคกสูง (เจ้าของแปลง) ณ บ้านเลขที่ 139 บ้านเหล่าอีหมัน หมู่ที่ 7 ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
👉โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างศูนย์เรียนรู้ให้แก่ชุมชน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชุนเพื่อมุ่งไปสู่ “หมู่บ้านยั่งยืน : Sustainable Village” ยกระดับชุมชนให้เข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน
👉โดยพื้นที่ดังกล่าวได้รับการจัดสรรเครื่องมือเพื่อผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 6 เครื่อง โดยมี 4 เครื่อง จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน แต่ด้วยที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้ ห่างไกลจากระบบสายส่งของการไฟฟ้ามาก ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการลงทุนเดินสายไฟฟ้าสูง ทำให้ประสบปัญหาด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ดังกล่าว จากการสำรวจพื้นที่ คณะหน่วยงานภาครัฐของจังหวัดและชุมชนเห็นตรงกันว่า ปัญหาดังกล่าวน่าจะแก้ไขได้ โดยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกณณ์ดังกล่าว ซึ่งใช้งบประมาณน้อยกว่า นำมาพัฒนาเป็นพลังงานทดแทนได้ จึงได้มีการจัดอบรมการใช้งาน และส่งมอบระบบพลังานแสงอาทิตย์ ให้แก่ชุมชน