โครงการพัฒนานวัตกรรมการเพราะเลี้ยงกบด้วยจุลินทรีย์ พร้อมควบคุมคุณภาพน้ำด้วยเทคโนโลยี loT

มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยความร่วมมือของคณะเทคโนโลยี คณะวิทยาการสารสนเทศ คณะการบัญชีและการจัดการหลักสูตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ร่วมกับ สำนักงานประมงจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกันพัฒนาพื้นที่ชุมชนบ้านสี่เหลี่ยม ตำบลหนองบัวแก้ว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการสร้างชุมชนต้นแบบการเพาะเลี้ยงกบ ทั้งนี้มีการดำเนินกิจกรรมโครงการในการพัฒนา ดังนี้
1.ถ่ายทอดการติดตั้งและใช้งานชุดเพาะฟักกบแบบเคลื่อนที่ให้แก่เกษตรกร
2.ถ่ายทอดการติดตั้งและใช้งานเครื่องวัดคุณภาพน้ำให้แก่เกษตรกร
3.ถ่ายทอดการติดตั้งและใช้งานระบบบำบัดน้ำเสียอย่างง่ายให้แก่เกษตรกร
4.ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเลี้ยงกบด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
5.ถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการประมงและกฎหมายเกี่ยวกับประมง
ผลจากการเข้าไปพัฒนาชุมชน ทำให้เกษตรกรมีองค์วามรู้และทักษะในการเพาะเลี้ยงกบเพิ่มขึ้น ดังนี้
1) เกษตรกรสามารถติดตั้งและใช้ชุดเพาะฟักกบแบบเคลื่อนที่ด้วยตนเองได้
2) เกษตรกรสามารถติดตั้งและใช้งานเครื่องวัดคุณภาพน้ำด้วยตนเองได้
3) เกษตรกรสามารถตรวจวัดและจัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงด้วยตนเองได้
4) เกษตรกรสามารถติดตั้งและใช้งานอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียอย่างง่ายได้
5) เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้เรื่องการใช้จุลินทรีย์ Probiotic สำหรับการเพาะเลี้ยงกบไประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพของตนเองได้
6) เกษตรกรทราบหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการประมง และกฎหมายประมง และ
7) เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ได้ว่าการดำเนินกิจการเพาะเลี้ยงกบคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่