โครงการ “การออกแบบและสร้างระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับหลอดอินฟราเรด”

ระบบอบแห้ง

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวกล้องเบญจรงค์ ณ วิสาหกิจชุมชนข้าวปลอดสารพิษบ้านหนองหิน หมู่ที่ 4 ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
โดยมี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการดังนี้

  1. นางจิราภรณ์ อินทะสร้อย 141 หมู่ 4 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
  2. น.ส.นุจรีภรณ์ อินทะสร้อย 198 หมู่ 4 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
  3. นางรัศมี บุตรแสนดี 163 หมู่ 4 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
  4. นางดารณี อะโน 99 หมู่ 3 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
  5. นางอรทัย ลาสิงห์ 26 หมู่ 3 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
  6. น.ส.พัชรีดา จันทร 23 หมู่ 4 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
  7. น.ส.แสงจันทร์ นนทนิจันทร์ 176 หมู่ 4 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
  8. นางอรสา นนทนิจันทร์ หมู่ 4 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
    ผลจาการที่ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้สัมภาษณ์ผู้ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้นำเสนอปัญหาและความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจ ดังนี้
    1.โรงเรือนสำหรับอบแห้งข้าวกล้องเบญจรงค์ โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และสามารถอบแห้งในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงแดด
    2.โรงเรือนสำหรับอบแห้งข้าวกล้องเบญจงค์ที่ป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่น แมลง นกรบกวน และช่วยเพิ่มกำลังการผลิต

จากประเด็นความต้องการดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ให้ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ นำองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับหลอดอินฟราเรดสำหรับการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณการผลิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ศูนย์ความ
ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการการออกแบบและสร้างระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับหลอดอินฟราเรด โดยอาจารย์ ดร.ปริญญ์ ชุปวา หัวหน้าโครงการ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยนายวีรศักดิ์ แก้วเข้ม ผู้ช่วยผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดสารพิษบ้านหนองหิน ตามความต้องการในประเด็นต่าง ซึ่งได้ผลจากการดำเนินงานมีดังนี้
1.ได้ดำเนินการออกแบบและพัฒนาสร้างระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกร่วมกับความร้อนจากหลอดรังสีอินฟาเรด เพื่อใช้ในการอบแห้งวัตถุดิบข้าวพองธัญพืช โรงเรือนขนาดความกว้าง 2 เมตร ความยาว 2 เมตร และความสูง 2.2 เมตร ภายในประกอบด้วยชั้นวาง 2 ชั้น มีระบบให้ความร้อนเสริมจากหลอดอินฟราเรดชั้นละจำนวน 8 หลอด อุณหภูมิในการอบแห้งอยู่ในช่วง 45-60 องศาเซลเซียส สามารถอบแห้งในช่วงฝนตก และกลางคืน ได้โดยยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และช่วยลดระยะเวลาการอบแห้งได้ถึงร้อยละ 30-50
2.โรงเรือนสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่น แมลง นกรบกวน และช่วยเพิ่มกำลังการผลิตต่อครั้ง มีกำลังการผลิตสูงสุดอยู่ที่ 160 กิโลกรัม/รอบ เพิ่มกำลังการผลิตจากเดิม 40 กิโลกรัม/8 ชั่วโมง เป็น 160 กิโลกรัม/4 ชั่วโมง ซึ่งสามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตข้าวพองธัญพืชในส่วนของการเตรียมวัตถุดิบโดยให้สอดคล้องกับปริมาณการผลิตของกลุ่มในปัจจุบันและแผนการพัฒนาตลาดของกลุ่มฯที่จะขยายในอนาคต
ภาพ / ข้อมูลข่าว : ศูนย์ความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาบลัยมหาสารคาม