โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารแพะต้นทุนต่ำจากวัตถุดิบท้องถิ่น” ณ ประสิทธิ์ฟาร์มแพะ บ้านโนนแห่ ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

การถ่ายทอดความรู้เรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์และความต้องการทางโภชนของแพ

วันอังคาร ที่ 9 พฤษภาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ได้เข้าสังเกตการณ์โครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
❤️“โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารแพะต้นทุนต่ำจากวัตถุดิบท้องถิ่น” ณ ประสิทธิ์ฟาร์มแพะ บ้านโนนแห่ ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม”
👉โดยมีอาจารย์ดวงนภา พรมเกตุ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะบัญชีและการจัดการ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม
💚 กิจกรรมในช่วงเช้า
📍 – พิธีเปิด กล่าวต้อนรับโดย นายยอด สาเสนา สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม เขตอำเภอยางสีสุราช
📍- บรรยายหัวข้อ “การถ่ายทอดความรู้เรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์และความต้องการทางโภชนของแพะ” โดย รศ.ดรทรงศักดิ์ จำปาวะดี
💚กิจกรรมในช่วงบ่าย
📍 – อบรมเชิงปฏิบัติการ “การประกอบสูตรอาหารแพะต้นทุนต่ำจากวัตถุดิบท้องถิ่น” โดย รศ.ดร.ทรงศักดิ์ จำปาวะดี
📌วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารแพะต้นทุนต่ำจากวัตถุดิบท้องถิ่น เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ถูกนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงสัตว์คือ ต้นทุนค่าอาหารคิดเป็นประมาณ 70 -80 % ของต้นทุนทั้งหมดในการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะต้องปรับตัวเพื่อลดต้นทุนการผลิต ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหาวัตถุดิบทดแทนที่มีปริมาณมากในท้องถิ่นและราคาถูกมาใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งในจังหวัดมหาสารคามมีการปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก หัวมันสำปะหลังคือหนึ่งวัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานในสูตรอาหารสัตว์ ในการปลูกมันสำปะหลังนอกจากจะได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังแล้ว ยังมีใบมันสำปะหลังเป็นเศษเหลือหลังจากเก็บผลผลิต ซึ่งสามารถนำใบมันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้หรือเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่มากในท้องถิ่นและมีราคาต่ำ เช่น เปลือกมันสำปะหลังล้าง กากมันสำปะหลัง สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ในการเลี้ยงแพะที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในสภาวะวัตถุดิบอาหารสัตว์ขาดแคลน หรือมีราคาสูงขึ้น ดังนั้น ถ้ามีการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่นเป็นอาหารสัตว์ก็จะทำให้ต้นทุนค่าอาหารสัตว์ลดลงได้
📍- การเสวนาเรื่อง การตลาดและทิศทางการจำหน่ายแพะ โดย ผศ.สพญ.ดรสุกัญญา ลีทองดี
📍- ซึ่งหลักจากประกอบสูตรอาหารแพะเสร็จแล้วได้แจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน เพื่อนำกลับไปให้สัตว์เลี้ยงของตนต่อไป

SDGs อาหารแพะ