โครงการห้องเรียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : การสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานการเรียนรู้ ภายใต้ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอน ให้เกิดการเรียนรู้ของนักเรียนตามแนวทางการสอนโดยอาศัย ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้ และเพื่อประยุกต์หลักการสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้ในโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
ทั้งนี้มีการดำเนินกิจกรรมโครงการในการพัฒนา ดังนี้
- การอบรมครูผู้สอน หัวเรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการทางจิตสังคม วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 โดยรูปแบบออนไลน์
- การฝึกอบรมปฏิบัติการ หัวเรื่อง Active Leaning: การออกแบบการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม 2564 และวันที่ 25-26 ตุลาคม 2564
- กิจกรรม ฝึกสอนครูผู้สอน โรงเรียนบ้านนาดูนประชาสรรพ์ และโรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ณ สถานีปฏิบัติการนาดูน สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning การสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน ของ โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564
- กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning การสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน ของโรงเรียนปอพานพิทยาคมรัชมังคลาภิเษก วันที่ 1 ธันวาคม 2564
- กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning การสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน ของโรงเรียนบรบือวิทยาคาร วันที่ 2 ธันวาคม 2564
- กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning การสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี วันที่ 15 ธันวาคม 2564
- กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน ของโรงเรียนกมลาไสย วันที่ 16 ธันวาคม 2564
- กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน ของโรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ วันที่ 17 ธันวาคม 2564
- กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน ของโรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา วันที่ 23 ธันวาคม 2564
สรุปการติดตามการสอนของครูผู้สอน พบว่าครูผู้สอนมีทักษะในการออกแบบการสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานการเรียนรู้ และทำการสอนอย่างต่อเนื่องในโรงเรียน การใช้แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนห้องเรียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมนักเรียนได้เกิดความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น และร่วมกัน อนุรักษ์ ดูแลรักษา การเผยแพร่ความสำคัญและคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น แก่สาธารชนภายนอก และการขยายผลการสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานการเรียนรู้ไปกลุ่มสาระ อื่น ๆ ในโรงเรียน