เกี่ยวกับกองส่งเสริมการวิจัย

ความเป็นมา / สภาพปัจจุบัน

ในปัจจุบันกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานในสังกัด สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเป็นหน่วยงานหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 ซึ่งในปัจจุบันมีส่วนงานภายในสำนักงานอธิการบดี จำนวน 12 หน่วยงาน ได้แก่ กองกลาง กองแผนงาน กองบริการการศึกษา กองกิจการนิสิต กองคลังและพัสดุ กองทะเบียนและประมวลผล กองอาคารและสถานที่ กองการเจ้าหน้าที่ กองส่งเสริมและบริการวิชาการ กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา และสำนักตรวจสอบภายใน โดยมีภารกิจหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และการที่จะให้การดำเนินการตามภารกิจดังกล่าวเป็นไปอย่างมีทิศทางเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพนั้น หากสำนักงานอธิการบดีมีแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่มีพื้นฐานจากการวิเคราะห์สถานการณ์ที่ถูกต้องรู้จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร สามารถประเมินโอกาสและภัยคุกคามที่องค์กรเผชิญหน้าได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง ก็จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญอันจะช่วยในการดำเนินภารกิจของสานักงานอธิการบดีบรรลุเป้าหมายได้เป็นอย่างดี การจัดทำแผนกลยุทธ์ของสำนักงานอธิการบดีจึงเป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่สานักงานอธิการบดีให้ความสำคัญ โดยแผนกลยุทธ์ดังกล่าว จะเป็นแผนแม่บทหลักระยะยาวของกองส่งเสริมการวิจัยฯ สำนักงานอธิการบดีในการกำหนดทิศทางการดำเนินการของกองส่งเสริมการวิจัยฯ สำนักงานอธิการบดี เป็นแผนแม่บทของการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณนอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำกับติดตามและประเมินผลการทำงานภายใต้ระบบการสร้างตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามระบบการบริหารงานสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการวัดผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน

ตามที่กล่าวมาแล้วกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สำนักงานอธิการบดี จึงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบาทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้ทบทวนและปรับแผนกลยุทธ์ของกองส่งเสริมส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2556 ขึ้น เพื่อให้กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สามารถใช้แผนกลยุทธ์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างมีทิศทางเป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต โดยที่กล่าวมา กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 112 ตอนที่ 21ก เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2538 และได้แบ่งส่วนราชการตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงวันที่ 14 มีนาคม 2548 ซึ่งมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย เป็นผู้บังคับบัญชา และมีผู้อำนวยการกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้บังคับบัญชาฝ่ายปฏิบัติงาน โดยมีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้

  • พัฒนาฐานและขอบเขตการวิจัย เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจการวิจัย สร้างกลไกในการสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พัฒนาและสนับสนุนแผนงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นโครงการวิจัยระยะยาว ที่มีความร่วมกันหลากหลายสาขาวิชา และมีเป้าหมายสอดคล้องกับแผนวิจัยแม่บทของมหาวิทยาลัยมหาสารคามรวมทั้งแผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ
  • พัฒนาในด้านการบริหาร จัดการ ประสานงาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภายในสถาบันฯ คณะ และหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามให้สามารถดำเนินงานการวิจัยได้ตามแนวนโยบายและแผนงานวิจัย
  • พัฒนาและส่งเสริมเผยแพร่ผลงานการวิจัยและส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระดับประเทศต่อไป
  • พัฒนาให้เป็นแหล่งเก็บรักษาความรู้ ในด้านการผลิตบุคลากรด้านการวิจัย รวมทั้งสร้างมาตรการในการควบคุมมาตรฐานการวิจัย
  • สนับสนุนและแสวงหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนและพิจารณาจัดสรรทุนให้กับฝ่ายต่าง ๆ ของสถาบันฯ คณะ และหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พัฒนาให้เป็นศูนย์หรือหน่วยงานประสานงานกลางเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนากับหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนภายในประเทศ และต่างประเทศ
  • พัฒนาให้เป็นสถานที่รวบรวมทะเบียนนักวิจัยโครงการวิจัย และเอกสารงานวิจัยที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนงานวิจัย และเผยแพร่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พัฒนาและให้การสนับสนุนการจัดสัมมนา การจัดหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับการวิจัยและการผลิตนักวิจัย ตลอดจนการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินการวิจัยและโครงการวิจัยและตามมติที่ประชุมกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ครั้งที่ 4/2548 วันที่ 25 กรกฎาคม 2548 ได้มีมติเห็น ชอบให้มีการจัดแบ่งกลุ่มงานภายในใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มีระบบ กลไก การบริหารและดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการจัดรวมกลุ่มงานใหม่ ให้เหลือเพียง 6 กลุ่มงาน ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดี ฝ่ายนโยบาย แผนและวิจัย และผู้อำนวยการกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ดังนี้
    • 1) กลุ่มงานส่งเสริมการวิจัย
    • 2) กลุ่มงานส่งเสริมการบริการวิชาการ
    • 3) กลุ่มงานส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
    • 4) กลุ่มงานส่งเสริมความร่วมมือกับอุตสาหกรรม
    • 5) กลุ่มงานเผยแพร่สารสนเทศการวิจัยและบริการวิชาการ
    • 6) กลุ่มงานบริหารทั่วไป

วัตถุประสงค์

กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มีวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองและสนับสนุนภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ดังนี้

  1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนางานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนางานด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนางานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปรัชญา / วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

ปรัชญา
บริการด้วยใจ โปร่งใส มีประสิทธิภาพ
วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยบรรลุวิสัยทัศน์ (Top 5 ของประเทศ)
พันธกิจ

  1. ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม
  2. ส่งเสริมการบริการวิชาการ
  3. ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  4. ส่งเสริมและเผยแพร่สารสนเทศการวิจัยและบริการวิชาการ
  5. ส่งเสริมการวิจัยและสร้างรายได้จากนวัตกรรมไหม
  6. ส่งเสริมให้บริการวิชาการและสร้างรายได้จากกิจการฟาร์ม
  7. ส่งเสริมและสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม
  8. ส่งเสริมการวิจัยและสร้างรายได้จากการให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์

ค่านิยมองค์กร “TEAMWORK”

RESEARCH
RE = Resource – Efficient เป็นทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ
SE = Service Excellence เต็มที่ในการบริการ
AR = Awareness & Responsibility ตระหนักและรับผิดชอบในหน้าที่
CH = Creativity & Honesty สร้างสรรค์และโปร่งใสในการทำงาน

แนวทางในการพัฒนากองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ

  1. พัฒนาฐานและขอบเขตการวิจัย เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจการวิจัย สร้างกลไกในการสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  2. พัฒนาและสนับสนุนแผนงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นโครงการวิจัยระยะยาว ที่มีความร่วมกันหลากหลายสาขาวิชา และมีเป้าหมายสอดคล้องกับแผนวิจัยแม่บทของมหาวิทยาลัยมหาสารคามรวมทั้งแผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ
  3. พัฒนาในด้านการบริหาร จัดการ ประสานงาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภายในสถาบันฯ คณะ และหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามให้สามารถดำเนินงานการวิจัยได้ตามแนวนโยบายและแผนงานวิจัย
  4. พัฒนาและส่งเสริมเผยแพร่ผลงานการวิจัยและส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระดับประเทศต่อไป
  5. พัฒนาให้เป็นแหล่งเก็บรักษาความรู้ ในด้านการผลิตบุคลากรด้านการวิจัย รวมทั้งสร้างมาตรการในการควบคุมมาตรฐานการวิจัย
  6. สนับสนุนและแสวงหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนและพิจารณาจัดสรรทุนให้กับฝ่ายต่าง ๆ ของ
  7. สถาบันฯ คณะ และหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  8. พัฒนาให้เป็นศูนย์หรือหน่วยงานประสานงานกลางเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนากับหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนภายในประเทศ และต่างประเทศ
  9. พัฒนาให้เป็นสถานที่รวบรวมทะเบียนนักวิจัยโครงการวิจัย และเอกสารงานวิจัยที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนงานวิจัย และเผยแพร่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  10. พัฒนาและให้การสนับสนุนการจัดสัมมนา การจัดหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับการวิจัยและการผลิตนักวิจัย ตลอดจนการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินการวิจัย โครงการวิจัย

ยุทธศาสตร์

  1. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ
  2. ส่งเสริมสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน
  3. ส่งเสริมสนับสนุนงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีสานให้มีความโดดเด่นระดับนานาชาติ
  4. ส่งเสริมการพัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล