ข่าวประชาสัมพันธ์

ลงพื้นที่ติดตามและสังเกตการณ์ การจัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้ชื่อ “โครงการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิตจากโครงการการนำก๊าซมีเทนนำกลับมาใช้ประโยชน์ในระบบจัดการมูลสัตว์ของไฟฟ้าแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ ตามแนวทางกลไกการพัฒนาที่สะอาด” ณ ห้องประชุม EN1-204 คณะวิศวกรรมศาสตร์

กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยอาจารย์ ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม และบุคลากรกลุ่มงานส่งเสริมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่ติดตามและสังเกตการณ์ การจัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้ชื่อ “โครงการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิตจากโครงการการนำก๊าซมีเทนนำกลับมาใช้ประโยชน์ในระบบจัดการมูลสัตว์ของไฟฟ้าแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ ตามแนวทางกลไกการพัฒนาที่สะอาด”
วันอังคาร ที่ 3 ธันวาคม 2567 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยอาจารย์ ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม และบุคลากรกลุ่มงานส่งเสริมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่ติดตามและสังเกตการณ์ การจัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้ชื่อ “โครงการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิต จากโครงการการนำก๊าซมีเทนนำกลับมาใช้ประโยชน์ในระบบจัดการมูลสัตว์ของไฟฟ้าแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ ตามแนวทางกลไกการพัฒนาที่สะอาด” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วจัสกร กาญจนะ (หัวหน้าโครงการ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดการอบรม เรื่อง คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) การประเมินคาร์บอนเครดิต จากโครงการการนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์ในบ่อหมักมูลสัตว์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากวิสาหกิจตักศิลาวากิวตามแนวทางกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism ; CDM ให้กับเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคกระบือ ในจังหวัดมหาสารคาม โดยมีวิทยากร ได้แก่ ผศ.ดร.วจัสกร กาญจนะ
โดยมี วัตถุประสงค์การอบรมฯ ดังนี้
1. เพื่อประเมินคาร์บอนเครดิต จากโครงการการนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์ในบ่อหมักมูลสัตว์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากวิสาหกิจตักศิลาวากิวตามแนวทางกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism ; CDM)
2. เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการ ประเมินคาร์บอนเครดิต จากโครงการการนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์ในบ่อหมักมูลสัตว์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
หน่วยงานที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้แก่ ฟาร์มเลี้ยงโคกระบือ ในจังหวัดมหาสารคาม
มีจำนวนผู้เข้าอบรมฯ ทั้งสิ้น 30 ท่าน
จัดอบรม ณ ห้องประชุม EN1-204 คณะวิศวกรรมศาสตร์
.
รายละเอียดเพิ่มเติม
.
.
ภาพ : อมรรัตน์ เลขกลาง
ข่าว : อมรรัตน์ เลขกลาง
กราฟิก : อมรรัตน์ เลขกลาง