ข่าวประชาสัมพันธ์

ลงพื้นที่ติดตามและสังเกตการณ์ “โครงการถ่ายทอดการผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีคุณภาพ”ณ ฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

วันพุธ ที่ 30 ตุลาคม 2567 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย กลุ่มงานส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ลงพื้นที่ติดตามและสังเกตการณ์ “โครงการถ่ายทอดการผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีคุณภาพ”ณ ฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดย ผศ.ดร.มัณฑนา นครเรียบ(คณะวิทยาศาสตร์ สังกัดภาควิชาเคมี) หัวหน้าโครงการฯ และอาจารย์ผู้ร่วมโครงการฯ ภาควิชาการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน บุคลากร และนิสิต ดังนี้
– บรรยาย การเตรียมแปลงปลูกมันแกว การปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวมันแกว วิทยากร โดย กลุ่มวิสาหกิจชมชุนผู้ปลูกมันแกว-หัวไชเท้า อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
– สาธิตวิธีการปลูกมันแกว โดย กลุ่มวิสาหกิจชมชุนผู้ปลูกมันแกว-หัวไชเท้า อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และร่วมกันปลูกมันแกว โดยมี นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเคมี ชาวบ้านตำบลนาสีนวน และบุคลากรฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนและแนวทางการพัฒนาการแปรรูปมันแกว โดยวิทยากร โดย ผศ.ดร.มัณฑนา นครเรียบ (หัวหน้าโครงการฯ)
– ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย ผศ.ดร.มัณฑนา นครเรียบ (หัวหน้าโครงการฯ) อาจารย์ฤทธิไกร ไชยงาม (ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและการพัฒนาที่ยั่งยืน) ผศ.ดร.ธนัณชัย สิงห์มาตร (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม) นางอุดม อาจศิริ (หัวหน้ากลุ่มงานยุททธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม) ฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ชาวบ้านและกลุ่มเกษตรกรตำบลนาสีนวน
วัตถุประสงค์โครงการฯ
1.เพื่อให้เกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่นาสีนวนผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีคุณภาพออกจำหน่ายได้
2.เพื่อให้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พื้นที่ตำบลนาสีนวนเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดการผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีคุณภาพ
3.เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ภายในจังหวัดมหาสารคาม
รูปแบบกระบวนการของโครงการฯ
1.การปรุงดินให้ใกล้เคียงกับดิน อำเภอบรบือ (GI) โดยการนำดินไปเช็กค่าต่างๆแล้วใส่ปุ๋ย
2.นำเมล็ดมันแกวที่ปลูก อยู่ที่อำเภอบรบือ มาปลูกมี่ฟาร์ม มมส. นาสีนวน โดยมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกมันแกว ม่าวมเป็นวิทยากรปลูก
3.ชาวบ้าน นิสิต และผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกันปลูก
4.นำมันแกวที่ออกหัวไปเช็กสารที่มีประโยชน์เพื่อไปเปรียบเทียบกับมันแกวบรบือ (GI)
นอกจากนี้ทางโครงการการได้มีการพัฒนาและต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมันแกวโดย นำมันแกวมาแปรรูปเป็นข้าวเกรียบรสชาติต่างๆ เช่น รสชาเขียว,รสชาไทย,รสออริจินัล และยังนำมันแกวมาพัฒนาวิจัยต่อยอดเป็นเครื่องสำอาง เช่น สบู่สครัปมันแกว ซึ่งทำให้มันแกวมีมูลค่าเพิ่มในอนาคตต่อไป
.
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/share/p/146u9S9gMn/
.
.
ที่มา : กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ
สถานที่ : ณ ฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาพ/ข่าว : อมรรัตน์ เลขกลาง