ลงพื้นที่ติดตามและสังเกตการณ์ “โครงการแนวทางการเชื่อมโยงการพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประจำจังหวัดฯ สู่การพัฒนาการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืนในจังหวัดมหาสารคาม” ณ ชุมชนโพธิ์ศรี (ข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี) ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
วันพุธ ที่ 18 กันยายน 2567 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย กลุ่มงานส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ลงพื้นที่ติดตามและสังเกตการณ์ “โครงการแนวทางการเชื่อมโยงการพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประจำจังหวัดฯ สู่การพัฒนาการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืนในจังหวัดมหาสารคาม” ณ ชุมชนโพธิ์ศรี (ข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี) ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดย ผศ.ดร.อัจฉริยา อิสสระไพบูลย์ (คณะการบัญชีและการจัดการ) หัวหน้าโครงการฯ และอาจารย์ผู้ร่วมโครงการฯ จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน และสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
– ประชุมการดำเนินกิจกรรม ครั้งที่ 1/2567 ในวันพฤหัสบดี ที่ 14 มีนาคม 2567
– ประชุม ครั้ง ที่ 2/2567 วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567
– ลงพื้นที่ วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 ณ ชุมชนข้าวฮางทุ่งนาทอง ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
– ลงพื้นที่ วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 ณ ชุมชนสมุนไพรบ้านมะค่า ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
– ลงพื้นที่ วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2567 กลุ่มสตรีทอเสื่อกกบ้านแพง ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
– ลงพื้นที่ วันพุธที่ 18 กันยายน 2567 ชุมชนโพธิ์ศรี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
โครงการมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อดำเนินการคัดเลือกสินค้าชุมชน/OTOP ในจังหวัดมหาสารคาม ที่มีศักยภาพสู่แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลสำหรับจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนในรูปแบบออนไลน์
2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้า ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ Business Model Canvas
3. ผลักดันให้มีการเล่าเรื่องราว (Story telling) ของการผลิตสินค้า เพื่อดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้
4. เกิดการใช้งานแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลที่ซื้อขายได้จริง
5. เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของร้านค้า กลุ่มชุมชน และประชาชนทั่วไป ด้วยแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล
6. เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น /จังหวัด ทั้งภาครัฐและเอกชน ก่อให้เกิดเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืนได้
.
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/share/p/787wTBJLAqT5YXf9/
.
.
ที่มา : กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ
สถานที่ : ณ ชุมชนศรีสวัสดิ์ เครื่องดื่มสมุนไพร ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ภาพ/ข่าว : อมรรัตน์ เลขกลาง