ข่าวประชาสัมพันธ์

ลงพื้นที่ติดตามและสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้ชื่อโครงการ “โครงการเพาะเลี้ยงและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไข่ผำเชิงพาณิชย์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ณ พื้นที่โคกหนองนา โมเดล และทำเกษตรยั่งยืน เครื่อข่าย ทสม.ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม 2567 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย กลุ่มงานส่งเสริมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่ติดตามและสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้ชื่อโครงการ “โครงการเพาะเลี้ยงและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไข่ผำเชิงพาณิชย์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ณ พื้นที่โคกหนองนา โมเดล และทำเกษตรยั่งยืน เครื่อข่าย ทสม.ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม โดย อาจารย์ ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ (คณะเทคโนโลยี) หัวหน้าชุดโครงการฯ และอาจารย์ผู้ร่วมโครงการฯ
จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การอบรมเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
– การถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีการผลิต เพาะเลี้ยงไข่ผำ โดย อาจารย์ ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ (หัวหน้าชุดโครงการ)
– การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการตรวจประเมินเบื้องต้นการปนเปื้อนจากการผลิตการเพาะเลี้ยงไข่ผำตลอดห่วงโซ่อาหาร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย และคณะทำงาน (หัวหน้าโครงการชุดโครงการย่อยที่ 2)
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการแปรรูปไข่ผำเพื่อเพิ่มมูลค้าเชิงการค้า โดย อาจารย์ ดร. เสาวลักษณ์ สุทธิเจริญ และคณะทำงาน (หัวหน้าชุดโครงการชุดโครงการย่อยที่3)
– สาธิตวิธีการเลี้ยงไข่ผำในบ่อพลาสติกแบบง่ายเชิงพานิชย์ โดย อาจารย์ ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ (หัวหน้าชุดโครงการ) – สรุปกิจกรรม และปิดโครงการ
การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้พัฒนากระบวนการเพาะเลี้ยงไข่ผำ และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับวิธีการเพาะเลี้ยงไข่ผำตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และส่งเสริมให้เกษตรกร แปรรูปผลิตภัณฑ์จากไข่ผำเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสามารถขยายสู่เชิงพาณิชย์ได้ โดยผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพต่อไปในอนาคต ซึ่ง “ไข่ผำ”ที่นำมาเพาะเลี้ยงจะมีโปรตีนที่สูงกว่าถั่วเหลือง มีวิตามินซีสูง มีไฟเบอร์สูง มีกรดอะมิโนจำเป็น มีแป้ง น้ำตาล ไขมัน และแคลอรี่ต่ำ เป็นพืชน้ำ ที่ภาคอุตสาหกรรมอาหารให้ความสนใจและเป็นนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต Future Food ซึ่งสายพันธุ์ของ “ไข่ผำ” ที่ใช้สาธิตการเพาะเลี้ยง คือ folffia globose (L.) ซึ่งทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี มีวิตามินซีสูง มีสรรคุณทางยา โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีเกษตรกรให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมและนำองค์ความรู้ไปใช้ต่อยอดการเพาะเลี้ยงไข่ผำ มากกว่า 30 คน
.
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/share/p/c6HPD65LW1xQCNnz/
.
.
ที่มา : กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ
สถานที่ : ณ พื้นที่โคกหนองนา โมเดล และทำเกษตรยั่งยืน เครื่อข่าย ทสม.ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
ภาพ/ข่าว : อมรรัตน์ เลขกลาง