เครื่องมือวิเคราะห์ HPLC – Photodiode Array Detector ( HPLC- PDA รุ่น 20A Series Shimadzu )

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นเครื่องวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของสารประกอบต่าง ๆ โดยใช้สารของเหลวเป็นตัวหา (Mobile Phase) เอาสารตัวอย่าง เหล่านั่นไปแยกในสภาวะที่เหมาะสม โดยสามารถตรวจวัดคุณสมบัติของสารที่แยกได้เหล่านั้น ด้วยชุดตรวจวัดชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสม พร้อมสามารถคำนวณหาชนิดและปริมาณได้โดยเทียบกับสารมาตรฐานด้วยระบบคอมพิวเตอร์
    – ระบบปั๊มแบบ Micro Volume ที่สามารถใช้ได้ทั้งระบบ High Pressure Gradient และ Low Pressure Gradient สามารถปั๊มสารละลายได้ละเอียดถึง 0.0001 ml/min และมีระบบล้างหัวปั๊มแบบอัตโนมัติ ที่ช่วยชะล้างระบบภายในของปั๊มทำให้ consumable part ต่างๆ มีอายุการใช้งานนานยิ่งขึ้น
    – ระบบฉีดสารอัตโนมัติแบบ variable volume ที่ปรับปริมาตรการฉีดสารด้วยปั๊ม Micro-volume โดยมี 6-port value 2 ชุด ทำหน้ากำหนด Function ในการทำงาน ที่มีความถูกต้องและความแม่นยำสูง
    – มีค่า carryover น้อยที่สุดในโลกเนื่องจากการออกแบบระบบ Mechanism ภายในใหม่ที่สามารถ ลดการปนเปื้อนของสารตัวอย่าง ที่ฉีดสารในแต่ละครั้ง และมีระบบการล้างแบบ Multi-rinse mode ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจำกัดการปนเปื้อนของสารตัวอย่าง
    – UV-VIS / PDA Detector มีค่า Noise / Drift น้อยที่สุดในโลกและมี Stability ดีที่สุดเพราะที่ Flow cell สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ตลอดการวิเคราะห์
    – มี low-pressure Hg lamp สำหรับ calibrated ความยาวคลื่นในช่วง UV สำหรับ UV-VIS Detector
    – มี Holmium filter สำหรับ calibrated ความยาวคลื่นในช่วง UV สำหรับ PDA Detec

เครื่องวิเคราะห์ HPLC ( RID และ ELSD ) ( รุ่น 10A และ 20A Series Shimadzu )

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • เป็นชุดเครื่องมือที่มีอุปกรณ์สำหรับประกอบชุดเพื่อใช้วิเคราะห์หาปริมาณสารที่มีสถานะเป็นของเหลว ควบคุมการทำงานและประมวลผลโดยสมบูรณ์แบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีอุปกรณ์ประกอบชุด ดังนี้ สามารถทำงานควบคุมอัตราการไหลของสารคงที่และแบบควบคุมความดันให้คงที่
    – สามารถตั้ง อัตราเร็วของสารละลายได้ไม่น้อยกว่า 0.0001 – 10.0000 มิลลิลิตรต่อนาที
    – ในการปรับอัตราเร็วของสารละลายมีค่าความถูกต้อง ไม่เกิน 1 % และมีค่าความแม่นยำไม่เกิน 0.3 % (โดยมีค่า RSD ไม่เกิน 0.1 %)
    – สามารถปรับความดันได้ไม่ต่ำกว่า 40 MPa
    – ในการทำ Gradient มีค่าความถูกต้องในการปรับความเข้มข้นของตัวทำละลายไม่เกิน 0.5 %
    – เครื่องมีสัญญาณ เตือนเมื่อเกิดการรั่ว และมีระบบ Drain Value สำหรับไล่ฟองอากาศได้
    – เครื่องสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยตัวเอง หรือควบคุมผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และมีชุดล้างหัวปั้มอัตโนมัติ เครื่องไล่ฟองแก๊สในของเหลว เป็นชุดไล่ฟองอากาศในของเหลวที่เป็นเฟสเคลื่อนที่ขณะทำการ วิเคราะห์ทดลอง ซึ่งสามารถไล่ฟองอากาศในสารละลาย พร้อมกันได้ไม่น้อยกว่า 5 ชนิด
    เครื่องดูดปล่อยตัวอย่างอัตโนมัติ มีรายละเอียด ดังนี้ – สามารถใส่ขวดสารตัวอย่างขนาด 1.5 มิลลิลิตร เพื่อทำการวิเคราะห์ได้ไม่น้อยกว่า 105 ขวด โดยสามารถเลือกการฉีดได้ในช่วง 0.1-100 ไมโครลิตร
    – สามารถทำงานได้ในช่วง pH 1-14 สายสัญญาณเป็นแบบใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สามารถ ป้องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้ลดสัญญาณรบกวนได้
    – มีความถูกต้องในการฉีดสารไม่เกิน 1% และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (RSD) ของความแม่นยำใน การฉีด ไม่เกิน 0.3 % และมีค่าการปนเปื้อน (Carryover) ไม่เกิน 0.005 %
    – เครื่องสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) หรือควบคุมผ่านเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้ ตู้อบควบคุมอุณหภูมิ มีรายละเอียด ดังนี้
    – สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ในตั้งแต่ 10 องศาเหนืออุณหภูมิห้องจนถึง 85 องศาเซลเซียส
    – สามารถตั้งโปรแกรมเวลา (Time Program) เพื่อปรับข้อกำหนดต่างๆ ตามเวลาที่ต้องการได้
    – มีระบบควบคุมความปลอดภัยในการใช้งาน
    – มีชุดผสมสารละลายสำหรับ Gradient เพื่อให้การควบคุมอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีทั้งระบบ
    – เครื่องสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) หรือควบคุมผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เครื่องตรวจวัดสารชนิดวัดดรรชนีการหักเห (RID-10A Refractive Index Detector) มีรายละเอียด ดังนี้
    – มีค่า Refractive Index Range อยู่ในช่วง 1 – 1.75 RIU สามารถตั้งค่าอัตราการไหลได้ถึง 20 มิลลิลิตรต่อนาที
    – เครื่องสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) หรือควบคุมผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องตรวจวัดสาร ชนิด Evaporate Light Scattering Detector มีรายละเอียด ดังนี้
    – หลอดกำเนิดแสงเป็นชนิดทังสเตน – ฮาโลเจน และตัวรับสัญญาณเป็น Photomultiplier tube
    – ตั้งอุณหภูมิในการวิเคราะห์ได้ตั้งแต่ อุณหภูมิห้อง ถึง 80 องศาเซลเซียส
    – สามารถตั้งอัตราการไหลของแก๊สได้สูงสุด 3.0 ลิตรต่อนาที
    – สามารถตั้งอัตราการไหลของสารละลายได้ในช่วง 0.1 – 5 มิลลิลิตรต่อนาที

เครื่องวิเคราะห์แก๊สโครมาโทรกราฟีแมสสเปกโตรมิเตอร์ (GC– MS รุ่น QP2010 Shimadsu )

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นเครื่องวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของสารประกอบที่ระเหยได้ง่าย โดยใช้เทคนิคแก็สโครมาโตกราฟแมสสเปกโตรมิเตอร์ พร้อมทั้งมีชุดป้อนสารตัวอย่างเข้าสู่แมสเปกโตรมิเตอร์ได้โดยตรง (Direct inlet system) ซึ่งสามารถใช้พิสูจน์ เอกลักษณ์ของสารประกอบโดยวิเคราะห์หามวลต่อประจุ (m/z) ด้วยการ SCAN และเปรียบเทียบกับ mass spectrum
    – มีปั๊มสุญญากาศแบบ Turbo Molecular Pump จำนวน 2 ชุด ขนาด 260 L/min และขนาด 65 L/min
    – New Ion Source ได้ design ใหม่ให้มีขนาดที่เหมาะสมและ maintenance ได้ง่าย และสิ่งที่สำคัญได้เพิ่ม energy ในการ generate fragment ions ให้สมบูรณ์ได้มากที่สุด และ ได้ design Ion optical System เพื่อคัดกรอง target ions ผ่านเข้าสู่ quadrupole ไปยัง detector เพื่อกำจัด interference ต่างๆ ออกไป
    – ในการเพิ่ม sensitivity ในการวิเคราะห์ให้สูงขึ้นต้องมีปัจจัยหลายประการประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้จำนวน fragment ions ที่ generate มีปริมาณมากที่สุด
    – จากประสิทธิภาพในการทำสุญญากาศทำให้สามารถใช้อัตราการไหล (Flow rate) ของ Carrier gas ได้สูงถึง 15 ml/min ซึ่งสามารถใช้ Wide-bore capillary column (ID. 0.53 mm)
    – ในระหว่างการวิเคราะห์ mode NCI สามารถปรับเปลี่ยนการวิเคราะห์ไปเป็น mode CI เพื่อตรวจวิเคราะห์หาน้ำหนักโมเลกุลสารได้ทันทีใน software หรือต้องการเปลี่ยน mode การทำงานมาเป็น mode EI เพื่อตรวจเช็คสารตัวอย่างกับ library ก็สามารถทำได้ทันที เช่นกัน
    – สามารถทำการวิเคราะห์แบบ High-Speed Analysis หรือ Fast-GCMS Analysis ทำให้ลดเวลาการวิเคราะห์ และมี sensitivity สูง เนื่องจากการควบคุมอัตราการไหลของ carrier gas เป็นแบบ high pressure ที่สามารถควบคุมความดันได้สูงถึง 970 KPa (1,200 ml/min) และมีความเร็วในการสแกนสูงถึง 10,000 amu/sec ทำให้สามารถตรวจวัด fragment ion ของโมเลกุลที่แตกตัวได้ทั้งหมด

เครื่องวิเคราะห์แก๊สโครมาโทรกราฟฟี ( GC – TCD และ FID ) รุ่น GC-2014 Shimadsu

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นเครื่องวิเคราะห์สารเคมีที่ใช้เทคนิคในการแยกสารผสมที่ระเหยได้ง่าย โดยมีก๊าซเป็นตัวพา (Carrier gas) ที่สามารถแยกแยะสารผสมมากกว่าหนึ่งชนิดให้ได้มาซึ่งสารประกอบเดี่ยวๆ ตามลำดับ ในสภาวะที่เหมาะสม และตรวจวัดสารตัวอย่างตามคุณสมบัติเฉพาะทางเคมี พร้อมทั้งคำนวณหาชนิดและปริมาณเทียบกับสารมาตรฐาน (Standard samples) โดยอัตโนมัติด้วยระบบคอมพิวเตอร์
    – มีหน้าจอ LCD ขนาดใหญ่ แบบ Graphical user interface ที่ควบคุมและแสดงค่า Parameters ต่างๆ ได้ชัดเจน
    – สามารถติดตั้ง Detectors ได้ถึง 4 ชุด และ Injectors 3 ชุด ได้พร้อมๆกัน โดยแยกการควบคุมอุณหภูมิได้อย่างอิสระ
    – สามารถติดตั้งได้ทั้ง Packed Column และ Capillary Column พร้อมกัน ทำให้สะดวกต่อการใช้งานได้ หลากหลาย application
    – การควบคุมอัตราการไหลของ carrier gas เป็นอิเล็คโทรนิคแบบ Advanced Flow Controlled (AFC) ที่สามารถโปรแกรมความดัน หรืออัตราการไหลของ carrier gas พร้อมทั้งมี Mode ควบคุม carrier gas แบบ Constant Linear Velocity ที่ควบคุมอัตราความเร็วของ carrier gas ให้คงที่ตลอดการวิเคราะห์ แม้ว่าจะใช้โปรแกรมอุณหภูมิของ column oven ซึ่งจะทำให้ Retention time ของสารที่วิเคราะห์มีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น Full Line Injector Units
    – Split/Splitless Injection for Capillary Column
    – Direct Injection for Wide-bore Capillary Column
    – Dual/Single Packed Column Injection

เครื่องวิเคราะห์ชนิดและปริมาณสารละลาย (UV- vis spectrophotometer) ยี่ห้อ Shimadzu รุ่น UV-1700 PharmaSpec

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • หลักการทำงาน: UV-VIS Spectrophotometer เป็นเครื่องมือที่ใช้ในวิเคราะห์สารโดยอาศัยหลักการดูดกลืนรังสีของสารที่อยู่ในช่วง Ultra violet (UV) และ Visible (VIS) ความยาวคลื่นประมาณ 340-1,100 nm สามารถใช้ในการตรวจวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

    ลักษณะตัวอย่าง: ใช้ได้กับตัวอย่างที่เป็นของเหลว ปริมาตรที่เหมาะสม คือ 2.5-3.0 ml (กรณีใช้ Quartz Cuvette ของศูนย์เครื่องมือกลาง)

    คุณสมบัติของเครื่องฯ :
       สามารถใช้งานในช่วงความยาวคลื่น 340-1,100 nm
       สามารถเลือกโหมดในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย Photometric, Spectrum, Quantitation, Kinetics, Time Scan, Multi-Component และ Photometric (Multi λ)
       สามารถวัดการดูดกลืนแสงได้มากสุดครั้งละ 6 ตัวอย่าง

    หมายเหตุ
       1. ผู้ใช้บริการต้องเตรียมตัวอย่าง สารเคมี และวัสดุที่จำเป็นมาใช้งานด้วยตนเอง

    ค่าบริการบุคคลภายใน 200 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)
    ค่าบริการบุคคลภายนอก 800 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)

    ผู้ดูแล: นส. รุ่งทิพย์ มาดี email: [email protected] โทร. 083-3445295

เครื่องทำแห้งแบบแช่แข็ง ( Freeze dryer ) รุ่น Heto Power Dry PL3000

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นเครื่องทำแห้งเยือกแข็งระบบสุญญากาศ (Freeze dryer) สามารถใช้ทำแห้งตัวอย่างทั้งของแข็ง และของเหลว ประกอบด้วยส่วนสำคัญในการทำงานได้แก่ ส่วนควบแน่นไอระเหยสาร (Ice condenser) ปั๊มสุญญากาศ (Vacuum pump) และ ชุดอุปกรณ์เพื่อใช้ในการทำแห้ง (Chamber or manifold)
    – เครื่อง Freeze dryer เป็นเครื่องทำแห้งตัวอย่าง โดยอาศัยการระเหิดของน้ำในตัวอย่าง ทำให้ตัวอย่างเย็นจนเกิดการเยือกแข็ง ภายใต้สภาวะสุญญากาศ ทั้งนี้เพื่อรักษาคุณสมบัติตัวอย่างให้คงสภาพเดิม ลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และขบวนการอื่นๆที่ทำให้ตัวอย่างเสื่อมสภาพ ตัวอย่างที่วิเคราะห์
    ผลิตภัณฑ์อาหาร ผัก ผลไม้ นม สารสกัดพืชสมุนไพร และตัวอย่างของเหลวอื่น ๆ
    ตัวอย่างประเภทใดไม่เหมาะในการทำแห้งตัวอย่าง
    – ตัวอย่างประเภทที่ตัวทำละลายมีความดันไอสูง เช่น เอทานอล เมทานอล จะต้องนำไปกำจัดออกก่อนโดยอาจใช้ เครื่อง Roto-evaporator
    – ตัวอย่างที่เป็นกรดมี pH น้อยกว่า 6 เพราะอาจทำให้เกิดการกัดกร่อน เกิดความเสียหายต่อชิ้นส่วนเครื่องมือได้ เช่น สารสกัดจากพืช หรือ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวบางชนิด
    – สารที่มีความหนืดสูง มีลักษณะเป็นผลึกละเอียด เช่น DMSO, glycerol สารพวกนี้จะทำให้ปั๊มทำงานหนัก ใช้เวลาในการทำแห้งนานมาก เกิดความเสียหายต่อเครื่องมือได้
    – สารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เวลาทำแห้งตัวอย่างประเภทนี้มักจะไม่สามารถทำให้แห้งเป็นผงละเอียดได้ ตัวอย่างจะมีลักษณะเป็นยางเหนียวๆ ซึ่งจะทำให้ปั๊มทำงานหนัก ใช้เวลาในการทำแห้งนานมาก เกิดความเสียหายต่อเครื่องมือได้
    – ของแข็งที่มีความหนามากกว่า 3 มม. เนื่องจากตัวอย่างส่วนในมีพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศมีน้อย ตัวอย่างแห้งยาก ใช้เวลานาน และอาจแห้งไม่เท่ากันทั่วชิ้นตัวอย่าง

เครื่องนึ่งความดันไอ ( Autoclave ) รุ่น Tomy SX – 700

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นหม้อนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำรูปทรงแนวตั้งมีความจุไม่น้อยกว่า 50 ลิตร โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร มีความลึกไม่น้อยกว่า 700 มิลลิเมตร โครงสร้างตู้ภายในและฝาปิดทำด้วย Stainless Steel
    – ใช้งานได้ที่ความดัน 0.5 – 2.3 kg/cm2 อุณหภูมิที่ใช้งาน 105-136 องศาเซลเซียส และทนอุณหภูมิสูงสุด 140 องศาเซลเซียส โดยใช้กับงาน Wrapped/Unwrapped ฆ่าเชื้อภาชนะ (Utensils) ฆ่าเชื้อในของเหลว
    – มีเกจบอกค่าความดัน 0-3.5 kg/cm2 พร้อมจอแสดงผลอุณหภูมิที่แท้จริงภายในเครื่องและค่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้สำหรับฆ่าเชื้อเป็นแบบตัวเลขดิจิตอล
    – ควบคุมด้วยระบบ Microprocessor และแสดงอุณหภูมิเป็นตัวเลขไฟฟ้า
    – มีระบบการทำงานต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบโดยอัตโนมัติตั้งแต่เริ่มการทำงานจนสิ้นสุด ขั้นตอนการฆ่าเชื้อ
    – มีปุ่มไฟแสดงบอกขั้นตอนการทำงานของตัวให้ความร้อน การทำงานระบบฆ่าเชื้อ และเมื่อจบการทำงานเครื่องจะปล่อยน้ำออกจากตัวเครื่องโดยอัตโนมัติ และ เมื่อความดันภายในลดจนถึง 0 จะมีสัญญาณเสียงบอกให้มาผู้ใช้มาเปิดฝาเครื่อง
    – มี Timer สำหรับตั้งเวลาการนึ่งฆ่าเชื้อในช่วงเวลา 0 – 60 นาทีหรือมากกว่า

ตู้ปลอดเชื้อ (Laminar Biohazard) รุ่น Holten Safe 2010

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นตู้กรองอากาศให้ปราศจากเชื้อชนิด Class II ช่วยป้องกันผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนขณะปฏิบัติงาน
    – ตัวตู้มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 4 ฟุต
    – ตัวตู้มีโครงสร้างที่มีความแข็งแรงและปลอดสนิมป้องกันการกัดกร่อน พื้นที่ทำงานเป็น Stainless steel ไม่เป็นสนิม
    – ด้านหน้าและด้านข้างเป็นผนังใส สามารถมองเห็นด้านในตู้
    – ระบบกรองอากาศประกอบด้วย Filter 2 ชุด ที่มีประสิทธิภาพในการกรองอากาศให้สะอาด ก่อนจ่ายเข้าพื้นที่ และกรองอากาศส่วนที่ไหลกลับ ก่อนปล่อยออกสู่ด้านนอกตู้
    – ภายในตู้มีไฟให้ความสว่าง เหมาะสมในการทำงาน
    – มี UV lamp สำหรับเปิดเพื่อทำความสะอาดในตู้ และด้านหน้าตู้มีแผ่นป้องกันแสง UV ได้ ซึ่งสามารถเลื่อนขึ้นลงได้ และมีระบบสัญญาณเตือนหากไม่อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
    – ระบบควบคุมการทำงานของตู้ มีแผงควบคุมการทำงาน และการแสดงโดยเป็นระบบกดควบคุม (Touch control) ที่กดง่าย และกดปุ่มแยกจากกันในการทำงานแต่ละชนิด

เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย ( Spray Dry ) รุ่น Buchi Mini Spray dryer B-290

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อทำให้ตัวอย่างแห้งออกมาในรูปที่เป็นผง
    – เครื่อง Spray Dryer สามารถทำการระเหยได้ทั้งสารตัวอย่างที่มีตัวทำละลายเป็นนํ้า (aqueous solution) และ ตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) ผสมในสารตัวอย่างไม่เกิน 20 %
    – หัวฉีด (Nozzle) ทำด้วย Stainless Steel สามารถเลือกใช้ nozzle tip ได้ 3 ขนาด คือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7, 1.4 และ 2.0 มิลลิเมตร
    – หน้าจอแสดงผลเป็นตัวเลขไฟฟ้า มีหน้าจอแสดงค่าและมีปุ่มสำหรับการใช้งานแยกกัน สำหรับแต่ละพารามิเตอร์ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน โดยแสดงค่า อุณหภูมิจริงของ Inlet (-C) และ Outlet (-C) และสามารถตั้งค่าพารามิเตอร์ คือ อุณหภูมิของ Inlet (-C), Aspirator (%), Pump (%) และ Nozzle cleaner
    – สามารถระเหยนํ้าได้สูงสุดไม่น้อยกว่า 1 ลิตร ต่อชั่วโมง
    – ปริมาณของสารตัวอย่างตํ่าสุดที่สามารถทำแห้งได้ไม่น้อยกว่า 10 มิลลิลิตร
    ตัวอย่างที่วิเคราะห์ ได้แก่
    ผลิตภัณฑ์นมหมัก สารสกัดพืชสมุนไพร และตัวอย่างของเหลวอื่น ๆ

เครื่อง Rotary Evaporator รุ่น Buchi Syncore

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นเครื่องที่ใช้ระเหยสารตัวทำละลายออกจากสารละลายตัวอย่าง เพื่อให้ปริมาณสารละลายตัวอย่างที่ต้องการนั้นเข้มข้นขึ้น ด้วยการให้ความร้อนจากอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ และระบบสุญญากาศ เพื่อลดจุดเดือดของสารตัวทำละลายตัวอย่างให้ต่ำลง
    – สามารถปรับอัตราเร็วรอบของการหมุนตั้งแต่ 20 ถึง 180 รอบต่อนาที (rpm)
    – เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการระเหยสารตัวอย่างที่เป็นของเหลวโดยการกลั่นเพื่อแยกตัวทำละลายที่ผสมอยู่
    – มีอ่างให้ความร้อนที่สามารถใช้ได้กับน้ำ ควบคุมอุณหภูมิแบบอิเล็กทรอนิคส์ ใช้พลังงานไม่น้อยกว่า 1,300 วัตต์ โดยควบคุมอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 20 องศาเซลเซียส ถึง 95 องศาเซลเซียสหรือ
    – ตัวอ่างด้านในทำด้วยสแตนเลส ออกแบบให้สามารถใช้กับขวดกลั่นได้หลายขนาดตั้งแต่ 50 มิลลิลิตร ถึง 4 ลิตร หรือมากกว่า – อ่างให้ความร้อนสามารถรับกำลังไฟฟ้าจากเครื่องโดยระบบสัมผัสเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนถ่ายสารตัวกลางให้ความร้อนโดยไม่ต้องดึงสายไฟออก
    – อ่างให้ความร้อนมีระบบป้องกันอุณหภูมิสูงเกิน (over temperature protection)
    – สามารถปรับระดับเลื่อนขึ้น/ลงของขวดใส่สารแบบ manual พร้อมระบบ quick action jack โดยการเลื่อนขึ้น/ลงของที่จับ (handle) เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
    – สามารถปรับมุมของฟลาสก์ที่จุ่มลงในอ่างให้ความร้อน เพื่อความเหมาะสมกับ ฟลาสก์ขนาดต่างๆ
    – สามารถใส่หรือถอดฟลาสก์ใส่สารตัวอย่างเข้ากับเครื่อง โดยการหมุนตัวจับยึด (clip) ได้สะดวกโดยไม่ต้องถอดตัวจับยึดออกจากเครื่อง

เครื่องทำให้สารละลายเข้มข้นโดยการเขย่าในสภาวะสุญญากาศ (Centrivap) รุ่น Buchi Syncore

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นเครื่องทำสารละลายให้เข้มขันโดยการปั่นเหวี่ยง ในสภาวะสุญญากาศและความเย็นจัดแบบตั้งพื้น
    – ส่วนประกอบส่วนต่างๆของการทำงานอยู่ภายในเครื่องเดียว รวมทั้งเครื่องดูดสุญญากาศทำให้สะดวกต่อการใช้งาน และเคลื่อนย้ายโดยมีรายละเอียดของแต่ละส่วนดังนี้
    – ควบคุมระบบการทำงานด้วยไมโครโปรเซสเซอร์สามารถตั้งโปรแกรมและตั้งค่าข้อมูลต่างๆ ได้ดังนี้
    – ตั้งเวลาการปั่นเหวี่ยงได้ตั้งแต่ 1 ถึง 999 นาที – ตั้งค่าความร้อนของช่องปั่นเหวี่ยงได้สูงสุด 100 ๐C ละเอียด 1๐C หรือไม่ใช้ความร้อน โดยตัวให้ความร้อนมี ขนาด 300 วัตต์
    – ตั้งเวลาของการให้ความร้อนได้ตั้งแต่ 1 ถึง 999 นาที
    – เครื่องทำให้สารละลายเข้มข้นโดยการเขย่าในสภาวะสุญญากาศเป็นการระเหยตัวทำละลายออกจากสาร ตัวอย่างโดยการลดความดันด้วยปั๊มสุญญากาศ (vacuum) และ การเขย่าแบบ vortex (vortex motion) เพื่อทำให้สารตัวอย่างเข้มข้นขึ้นสำหรับการเตรียมสารตัวอย่างในการวิเคราะห์
    – สามารถทำได้ครั้งละ 12 ตัวอย่าง ให้เหลือปริมาตร 1 มิลลิลิตร พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ

เครื่องทำให้เซลล์จุลินทรีย์แตก ( Break Cell ) รุ่น VC/VCX 130,500,750

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – ใช้ย่อยเซลล์ ลดขนาดอนุภาค เร่งการทำปฏิกิริยาเคมี และละลายอนุภาคในสารละลายด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
    – สะดวกต่อการใช้งาน และสามารถติดตั้งกับขาตั้งเพื่อทำงานบนโต๊ะได้
    – มีกำลังขนาด 750 วัตต์ และมีความสามารถติดตั้งกับขาตั้งเพื่อทำงานบนโต๊ะได้
    – สามารถใช้กับสารตัวอย่างตั้งแต่ปริมาณ 250 ไมโครลิตร ถึง 1 ลิตร ขั้นอยู่กับขนาดของ Probe
    – ควบคุมการทำงานด้วยระบบไมโครโปรเซสเซอร์ แสดงค่าต่างๆเป็นตัวเลขไฟฟ้า เช่น กำลังเป็นวัตต์ เวลา อุณหภูมิ
    – มีระบบควบคุมอุณหภูมิของสารตัวอย่างและแสดงอุณหภูมิเป็นตัวเลขไฟฟ้าตั้งแต่ 1 ถึง 99 องศาเซลเซียส
    – สามารถตั้งเวลาในการทำงานได้ตั้งแต่ 1 วินาที ถึง 9 ชั่วโมง 59 นาที และมีจอแสดงเวลาที่ผ่านไปหรือเวลาที่เหลืออยู่
    – ใช้กับหัวสั่นสะเทือนได้หลายแบบ
    – ใช้ได้ไฟฟ้า 220 โวลต์ 50 ไซเกิล

ตู้อบความร้อน (Hot Air Oven) รุ่น Bander

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • - ตู้อบความร้อน Hot air Oven เป็นระบบลมร้อน ใช้สำหรับการอบแห้งพร้อมกับระบายความชื้น เป็นตู้อบลมร้อนขนาด 115 ลิตร สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 50C ถึง 300 0C จากอุณหภูมิห้อง
    - มีระบบหมุนเวียนอุณหภูมิภายในตู้เป็นระบบพัดลม Centrifugal Fan เพื่อหมุน กระจายอุณหภูมิทั่วตู้
    - มีถาดวางของทำด้วยสแตนเลส ผนังภายในทั้งสองด้านมีที่รองรับชั้น
    - มีระบบควบคุมอุณหภูมิเป็นระบบ Proportional Temperature Controller สามารถแสดงค่าอุณหภูมิภายใน ตู้เป็นตัวเลขไฟฟ้า(Digital) แสดงค่าสเกลอุณหภูมิปรับตั้งเป็นตัวเลขไฟฟ้า
    - มีระบบ High Temperature Safety ป้องกันเมื่ออุณหภูมิภายในตู้ผิดปกติ
    - สามารถตั้งเวลาในการทำงานได้
    - มีระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร (Circuit breaker)
    - หน้าตู้ด้านบนมีแผงควบคุมการทำงาน โดยมี
       – สวิตซ์เปิด-ปิดเครื่อง และหลอดไฟฟ้าแสดงการทำงานของ Heater
       – ปุ่มปรับตั้งค่าอุณหภูมิ และตัวเลขไฟฟ้าแสดงค่าอุณหภูมิที่ปรับตั้ง
       – จอแสดงค่าอุณหภูมิภายในตู้อบเป็นตัวเลขไฟฟ้า
       – สวิตซ์เปิด-ปิดให้ระบบ Timer และหลอดไฟฟ้าแสดงเวลาที่เครื่องหยุดการทำงาน (Halt)
       – ปรับตั้งเวลาที่ต้องการให้เครื่องหยุดทำงาน สามารถปรับตั้งได้ 0- 24 ชั่วโมง
       – มีระบบป้องกันอุณหภูมิสูงเกินพิกัด (High Safety Cut-Off) และหลอดไฟฟ้าแสดงการทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงเกินพิกัด

เครื่องปั่นเหวี่ยงความเร็วสูงที่ควบคุมอุณหภูมิได้ (Centrifuge) รุ่น Sigma 6-16 K

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • - เป็นเครื่องปั่นเหวี่ยงที่สามารถควบคุมอุณหภูมิตั้งแต่ -20°C ถึง 40°C
    - สามารถตั้งเวลาการทำงานได้ตั้งแต่ 1 นาที จนถึงไม่น้อยกว่า 99 นาที และสามารถเลือกการปั่นแบบต่อเนื่องได้
    - สามารถเลือกปรับค่าอัตราเร่ง (Acceleration) และค่าอัตราหน่วง (Deceleration) ได้ค่าละไม่ต่ำกว่า 2 ระดับ และสามารถเลือกค่าอัตราหน่วงแบบอิสระ (Free) ได้
    - สามารถปรับความเร็วรอบสูงสุดได้ 14,000 RPM
    - โดยศูนย์เครื่องมือกลางมี Rotor 3 ขนาด ประกอบด้วย
       Fix Angle Rotor 6 X 500 ml ปรับความเร็วรอบสูงสุดได้ 9,600 RPM
       Fix Angle Rotor 6 X 250 ml ปรับความเร็วรอบสูงสุดได้ 11,200 RPM
       Fix Angle Rotor 6 X 85 ml ปรับความเร็วรอบสูงสุดได้ 14,000 RPM

    ค่าบริการบุคคลภายใน 200 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)
    ค่าบริการบุคคลภายนอก 800 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)

    ผู้ดูแล: นส. รุ่งทิพย์ มาดี email: [email protected] โทร. 083-3445295

เครื่องปั่นแยกสารชนิดควบคุมอุณหภูมิ ( Refrigerated centrifuge ) รุ่น Eppendorf

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • - เป็นเครื่องปั่นขนาดเล็กที่ใช้กับห้องปฏิบัติการ มีหัวปั่นสำหรับปั่นหลอดทดลองขนาดเล็ก (Microcentrifuge tubes) ได้ตามขนาดของหลอดทดลองคือ 1.5/2.2 ml. และ 0.5 ml.
    - สามารถปรับความเร็วในการปั่นได้ตั้งแต่ 10000 rpm ขึ้นไปและสามารถตั้งค่าการใช้งานและแสดงค่า RCF ได้
    - สามารถปรับตั้งอุณหภูมิที่ 0 องศาเซลเซียส ถึง 40 องศาเซลเซียสได้
    - สามารถตั้งเวลาในการปั่นได้ไม่ต่ำกว่า 30 นาทีหรือทำงานแบบต่อเนื่องได้
    - แสดงค่าความเร็วในการปั่นและเวลาเป็น LCD Display
    - มีระบบล็อคฝาเพื่อป้องกันอันตราย โดยฝาจะเปิดได้เมื่อเครื่องหยุดทำงานเท่านั้น
    - ภายใน Chamber ทำด้วย Stainless Steel โครงสร้างของตัวเครื่องและฝาปิดทำด้วยโลหะแข็งแรง
    - ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ 50 ไซเคิล
    การใช้ประโยชน์
    ใช้สำหรับการตกตะกอนสาร หรือใช้แยกเซลล์หรือองค์ประกอบเซลล์ เช่น นิวเคลียส ไมโตคอนเดรีย และไลโซโซม เป็นต้น เครื่องหมุนเหวี่ยงประเภทนี้มักมีเครื่องทำความเย็น เพื่อป้องกันการเสียสภาพของสารที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความร้อน

เครื่องเขย่าแบบควบคุมอุณหภูมิ (Shaking Incubator) รุ่น SI6R-2 ( Shel-lab )

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • – เป็นตู้อบเพาะเชื้อชนิดเขย่าได้ โดยสามารถควบคุมอุณหภูมิตั้งแต่ –20 องศา ถึง 60 องศา จากอุณหภูมิห้อง
    – สามารถปรับความเร็วรอบในการเขย่าได้ 30 ถึง 400 RPM พร้อมทั้งสามารถตั้งเวลาการทำงานได้ตั้งแต่ 1 – 999 นาที
    – เป็นตู้บ่มเพาะเชื้อพร้อมเขย่า สามารถตั้งค่าความเร็วรอบในการเขย่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 300 รอบต่อนาที แบบ Orbital
    – สามารถตั้งเวลาการทำงานได้
    – สามารถใช้กับ Flask ได้หลายขนาด
    – ภายในตู้มีหลอดไฟเพื่อความสะดวกในการทำงาน
    – มีการเตือนด้วยเสียงเมื่อสิ้นสุดการทำงานตามเวลาที่ตั้งไว้

เครื่องเตาเผาอุณหภูมิสูง ยี่ห้อ Nabertherm รุ่น P310

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • หลักการทำงาน: เตาเผาอุณหภูมิสูง เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเผาวัสดุ ใช้ไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิง โดยใช้แท่งวัสดุให้ความร้อน (Heating Element) เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้เป็นความร้อน จึงปราศจากสิ่งเจือปนที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ในการเผานี้จะไม่มีเปลวไฟ ไม่มีควัน เรียกสภาวะการเผาแบบนี้ว่า การเผาสันดาปสมบูรณ์ (Oxidation Conduction) ใช้หลอมโลหะ หรือทําให้วัสดุร้อนเพื่อเปลี่ยนรูปร่าง หรือ ให้ได้คุณสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีตามต้องการ เป็นกระบวนการเปลี่ยนสภาพวัตถุดิบที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับคืนสู่สภาพเดิมได้

    ลักษณะของผลที่ได้: ได้วัสดุที่มีสมบัติทางกายภาพและ ทางเคมีตามต้องการ

    การประยุกต์ใช้งาน: ใช้สำหรับเตรียมชิ้นงานเซรามิกโดยการเผาให้แห้งให้ได้ชิ้นงานเป็นของแข็งหรือเป็นผง สำหรับงานประเภทแก้ว เมื่อให้ความร้อนสูงจะทำให้เกิดการหลอมตัวเกิดเป็นเฟสของเนื้อแก้วขึ้น (Vitrification) และทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งแรง สำหรับโลหะเผาเพื่อได้ให้เฟส โครงสร้าง หรือสมบัติตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังสามรถใช้ในงานอื่นที่ต้องการความร้อนสูง

    ลักษณะตัวอย่าง: ใช้กับชิ้นงานทดสอบประเภทโลหะ และเซรามิก

    คุณสมบัติของเครื่องฯ :
       ขนาดความจุของช่องเผาไม่เกิน 4 ลิตร
       ทำอุณหภูมิได้สูงสุด 1800 องศาเซลเซียส
       ตั้งเวลาได้มากที่สุด 99 ชั่วโมง 59 นาที
       ตั้งโปรแกรมการใช้งานได้ 9 โปรแกรม

    ค่าบริการบุคคลภายใน 1,200 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)
    ค่าบริการบุคคลภายนอก 2,400 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)

    ผู้ดูแล: นส. รุ่งทิพย์ มาดี email: [email protected] โทร. 083-3445295

เครื่อง Liquid chromatography–mass spectrometry (LCMS/MS)

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • เป็นเครื่องมือสำหรับแยกวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณสารในสภาวะของเหลว โดยใช้ตัวตรวจวัด (Detector)เป็นแบบเครื่องวิเคราะห์มวลสาร (Mass Spectrometer) จัดเป็นเครื่องที่ใช้เทคโนโลยี่ขั้นสูง มีความถูกต้องและความแม่นยำในการวิเคราะห์สูง สามารถวิเคราะห์สารตัวอย่างได้มากมายหลายชนิด

ตู้บ่มเพาะเชื้อ incubator

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope:SEM)
ยี่ห้อ HITACHI รุ่น TM4000Plus

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • ใช้ศึกษาโครงสร้างจุลภาคของตัวอย่างประเภทต่างๆ เช่น ทางชีวภาพ และทางกายภาพ
    มีแหล่งกำเนิดอิเล็กตรอนที่มีค่าความต่างศักย์ที่สามารถปรับค่าได้ 5, 10, 15 kV สามารถปรับกำลังขยายได้ตั้งแต่ 10 ถึง 100,000 เท่า
    มีตัวตรวจรับสัญญาณ Backscattered Electron Detector และ Secondary Electron Detector
    และสามารถตรวจวิเคราะห์ธาตุด้วยรังสีเอ๊กซ์

    ลักษณะตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ควรแห้ง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 30 มิลลิเมตร, ความสูงมากสุด 40 มิลลิเมตร
    ค่าบริการบุคคลภายใน
    1. ถ่ายภาพ 500 บาท/ชั่วโมง
    2. เคลือบทอง 400 บาท/ครั้ง
    3. วิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ธาตุด้วย EDX
       3.1 วิเคราะห์ 300 บาท/ธาตุ
       3.2 วิเคราะห์ 3,000 บาท/10 ธาตุ (ขึ้นไป)
    4. วิเคราะห์แบบ Mapping หรือ Line scan
       4.1 วิเคราะห์ 300 บาท/ธาตุ
       4.2 วิเคราะห์ 4,500 บาท/10 ธาตุ (ขึ้นไป)
    ค่าบริการบุคคลภายนอก
    1. ถ่ายภาพ 800 บาท/ชั่วโมง
    2. เคลือบทอง 500 บาท/ครั้ง
    3. วิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ธาตุด้วย EDX
       3.1 วิเคราะห์ 500 บาท/ธาตุ
       3.2 วิเคราะห์ 5,000 บาท/10 ธาตุ (ขึ้นไป)
    4. วิเคราะห์แบบ Mapping หรือ Line scan
       4.1 วิเคราะห์ 500 บาท/ธาตุ
       4.2 วิเคราะห์ 6,000 บาท/10 ธาตุ (ขึ้นไป)

    ผู้ดูแล: นส. รุ่งทิพย์ มาดี email: [email protected] โทร. 083-3445295

เครื่อง FTIR Microscope

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เครื่องหาพื้นที่ผิวและความพรุนของอนุภาค (BET)

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เครื่องอ่านปฏิกิริยาบนไมโครเพลทแบบฟลูออร์เรสเซนต์ชนิดมัลติดิเทคชั่น
(Multidetection Microplate Reader)ยี่ห้อ Thermo Scientific™ รุ่น Varioskan™ LUX

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • เป็นเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสงและการเรืองแสง จากการเกิดปฏิกิริยาของสารในไมโครเพลท
    - สามารถวัดค่า Absorbance (UV-Vis), Fluorescence, และ Luminescence มีแหล่งกำเนิดแสงเป็นแบบ Xenon flash lamp
    - มีระบบควบคุมอุณหภูมิโดยสามารถตั้งค่าได้ตั้งแต่ 4 องศาเซลเซียสเหนืออุณหภูมิห้อง จนถึง 45 องศาเซลเซียส
    - มีระบบเขย่าถาดหลุม (Shaking) แบบหมุนวน (Orbital shaking) สามารถปรับความเร็วได้ 60- 1200 rpm
    - มีอุปกรณ์จ่ายสารละลาย (dispensor) สำหรับปฏิกิริยาที่ต้องการความไวในการวัดค่า เช่น ATP assay, Ca Flux เป็นต้น


    หมายเหตุ

    1. ผู้ใช้บริการต้องเตรียมตัวอย่าง สารเคมี และวัสดุที่จำเป็นมาใช้งานด้วยตนเอง
    2. สามารถใช้ได้กับเพลทแบบ 96, 384 well without lid และ 96 well with lid


    ค่าบริการบุคคลภายใน 200 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)
    ค่าบริการบุคคลภายนอก 800 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)

    ผู้ดูแล: นส. รุ่งทิพย์ มาดี email: [email protected] โทร. 083-3445295

เครื่องวัดปริมาณ DNA , RNA และโปรตีน ยี่ห้อ Eppendorf รุ่น BioPhotometer

  • ที่มา: ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รายละเอียดเครื่องมือ
  • เป็นเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง มีแหล่งกำเนิดแสงเป็นแบบ Xenon flash lamp ใช้งานในช่วงความยาวคลื่น 230, 260, 280, 320, 562, 595 nm สามารถเลือกโหมดในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย dsDNA, ssDNA, RNA, Oligonucleotide, Protein, Bradford, BCA, Lowry และ OD 600


    ลักษณะตัวอย่าง:

    ใช้ได้กับตัวอย่างที่เป็นของเหลว กรณีใช้ quartz cuvette ของศูนย์เครื่องมือกลางปริมาตรที่น้อยที่สุดการวัดค่าการดูดกลืนแสงของ dsDNA, ssDNA, RNA และ Oligonucleotide คือ 50 μl ปริมาตรที่น้อยที่สุดการวัดค่าการดูดกลืนแสงของ Protein, Bradford, BCA, Lowry และ OD 600 คือ 1,000 μl

    หมายเหตุ

    1. ผู้ใช้บริการต้องเตรียมตัวอย่าง สารเคมี และวัสดุที่จำเป็นมาใช้งานด้วยตนเอง
    2. Mettods dsDNA, ssDNA, RNA Oligonucleotide c]tสามารถใช้ได้กับ quartz-glass or plastic cuvette


    ค่าบริการบุคคลภายใน 100 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)
    ค่าบริการบุคคลภายนอก 360 บาท/ครั้ง (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)

    ผู้ดูแล: นส. รุ่งทิพย์ มาดี email: [email protected] โทร. 083-3445295